2 วิธีง่ายๆ ในการเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน

Last updated: 3 พ.ย. 2563  | 

2 วิธีง่ายๆ ในการเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน

2 วิธีง่ายๆ ในการเลี้ยงไส้เดือน การทำปุ๋ยมูลไส้เดือน

     มูลไส้เดือนมีลักษณะสีน้ำตาลดำ เป็นเม็ดร่วน มีความพรุน โปร่งนุ่มเบา ระบายน้ำและอากาศได้ดี ไม่มีกลิ่นฉุน ให้ธาตุอาหารหลายชนิดที่อยู่ในเศษอินทรียวัตถุเหล่านั้นถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ เช่น เปลี่ยนไนโตรเจน ให้อยู่ในรูป ไนเตรท หรือ แอมโมเนีย ฟอสฟอรัสในรูปที่เป็นประโยชน์ โพแทสเซียมในรูปที่แลกเปลี่ยนได้ มีธาตุอาหารรอง เช่น แมงกานีส เหล็ก ทองแดง และสารอาหารอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญของพืช รวมทั้งมีจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อม

วิธีเลี้ยงไส้เดือนเพื่อทำปุ๋ย ส่วนใหญ่แบ่งออก 2 วิธี คือ

 วิธีเลี้ยงไส้เดือนดินในกะละมังและวิธีเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์ โดยถ้าหากใครต้องการปริมาณไม่มาก ก็ให้เลี้ยงในกะละมัง แต่ถ้าหากใครต้องการปริมาณเยอะ ก็ให้เลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ซึ่งขั้นตอนมีดังนี้

1. วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินในกะละมัง

  1. เจาะรูเล็กๆ ให้ทั่วกะละมัง เพื่อให้น้ำไหลออกสะดวก
  2. รดน้ำใส่มูลวัวให้เปียกสักประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อล้างแก๊สและความร้อน
  3. ผสมกากมะพร้าวสับเข้ากับมูลวัว อัตราส่วน 30:70 เพื่อเพิ่มความเย็น
  4. คลุกให้เข้ากัน แล้วนำไปใส่ในกะละมังประมาณครึ่งกะละมังใส่ไส้เดือนดินลงไปบนมูลวัว ไม่ต้องฝัง เดี๋ยวไส้เดือนดินจะไชลงไปเอง แล้วนำไปไว้ในโรงเรือน แล้วคอยรดน้ำให้ความชื้นประมาณ 1 ครั้ง/3-4 วัน
  5. คอยรดน้ำให้ความชื้นประมาณ 1 ครั้ง/3-4 วัน รอประมาณ 1-2 เดือน ก็จะได้ปุ๋ยไส้เดือนที่พร้อมใช้งาน

2. วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์

วิธีการเลี้ยงไส้เดือนดินในบ่อซีเมนต์

  1. ใส่มูลวัวลงในบ่อซีเมนต์ แล้วรดน้ำเรื่อยๆ ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เพื่อล้างแก๊สและความร้อน
  2. รอจนมูลวัวเย็นพอดี สามารถวัดได้ด้วยการนำมือล้วงลงไปเพื่อเช็คความอุ่นและความเย็น
  3. ใส่ไส้เดือนดินลงไปบนมูลวัว ไม่ต้องฝัง เดี๋ยวไส้เดือนดินจะไชลงไปเอง
     ต้องบอกเลยปุ๋ยไส้เดือนเป็นของดีที่มีประโยชน์กับการปลูกต้นไม้อย่างมาก เพราะนอกจากจะทำให้ดินอุดมสมบูรณ์อุดมไปด้วยจุลินทรีย์ อินทรีย์วัตถุ และธาตุอาหารอีกหลายหลายชนิดแล้ว ยังช่วยรักษาสภาพความเป็นกรด-ด่างในดินให้สมดุล อีกทั้งยังช่วยให้โครงสร้างของดินดีขึ้น เพราะทำให้ดินมีช่องว่าง มีการระบายน้ำและอากาศได้ดีขึ้น อีกทั้งรากต้นไม้ยังชอนไชง่าย และป้องกันไม่ให้หน้าดินจับตัวเป็นก้อนอีกด้วย

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้